สถิติการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรของโรงงานอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีในช่วงเดือนตุลาคม 2560 – กุมภาพันธ์ 2561 มีผู้ประกอบการยื่นจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร 652 ราย จำนวนเครื่องจักร 4,537 เครื่อง มูลค่าเครื่องจักรที่จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ 94,166 ล้านบาท และวงเงินจำนองเครื่องจักร 56,500 ล้านบาท ทั้งนี้ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาพบว่า จำนวนผู้ประกอบการที่ยื่นจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ฯ มีการปรับตัวสูงขึ้นกว่า 23 % ซึ่งจากเดิมมีจำนวน 527 ราย เครื่องจักร 2,772 เครื่อง
“เครื่องจักร” หมายความว่า สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับให้ก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลง สภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม แก๊ส ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน และหมายความรวมถึง เครื่องอุปกรณ์ สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กัน และรวมถึงเครื่องมือกลด้วย
กลุ่มอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ 184 ราย จำนวนเครื่องจักร 894 เครื่อง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพลาสติก 91 ราย จำนวนเครื่องจักร 400 เครื่อง
- อุตสาหกรรมการพิมพ์ 70 ราย จำนวนเครื่อง 113 เครื่อง
- อุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า จำนวน 33 ราย เครื่องจักร 369 เครื่อง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากอโลหะอื่นจำนวน 25 ราย เครื่องจักร 52 เครื่อง
ดังนั้น ตามมาตรา 5 : พ.ร.บ. จดทะเบียนเครื่องจักร เครื่องจักรใดเมื่อได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้แล้วให้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ตามมาตรา 703 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ขั้นตอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
- ยื่นคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
- ตรวจเครื่องจักร เอกสารหลักฐาน
- ประกาศ 5 วัน (นับจากนายทะเบียนฯลงนาม)
- ชำระค่าธรรมเนียม
- ติดแผ่นป้ายหมายเลขทะเบียน
- ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร
- ผู้ถือกรรมสิทธิ์รับหนังสือสำคัญฯ ณ สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรที่ยื่นขอ
ขอบคุณแหล่งที่มา :
http://www2.diw.go.th/mac/index_comr/forms_1/regis1_5.pdf
http://www.acnews.net/detailnews.php?news_id=N256123622