02-1150505   ฝ่ายขายเปิดบริการทุกวันไม่มีวันหยุด

business-management-1-1186x593

บริการขอรับการส่งเสริมการลงทุน BOI

Muenlan รับปรึกษาปัญหา BOI ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพอันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI คืออะไร…? BOI (Board of Investment) คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมผู้ลงทุนใน 3 เรื่องหลักคือ         1. ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน         2. ช่วยลดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการลงทุนและช่วยนักลงทุนในการเพิ่มผลตอบแทน จากการลงทุน 3. ช่วยให้คำปรึกษาและบริการในการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คือ หน่วยงานหนึ่งที่ก่อตั้งเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการลงทุน โดยการดึงชาวต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย ผู้ที่ได้การส่งเสริมจาก BOI ได้สิทธิประโยชน์ ในด้าน         – ภาษีอากร         – ภาษีนิติบุคคล         – สิทธิการถือครองที่ดิน         – สิทธิการเข้ามาในประเทศ  แต่ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตามกฏระเบียบของ BOI/Custom/Revenue การส่งเสริมการลงทุน (BOI) การส่งเสริมการลงทุนเป็นมาตรการหนึ่งในหลายมาตรการในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยมีหน่วยงานหลักที่ดูแลรับผิดชอบด้านการส่งเสริมการลงทุน คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุนกรมศุลกากรซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลและรับผิดชอบในเรื่องภาษีอากรของรัฐและเพื่อการส่งเสริมการส่งออกแก่ผู้ประกอบการจึงต้องก าหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติในการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบของผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้านภาษีอากรขาเข้า รวมไปถึงควบคุมดูแล อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

(1) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรหรือได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรลงเหลือกึ่งหนึ่ง (2) ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี หรือในบางเขตจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 -8 ปี (3) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา1-5 ปี แล้วแต่เขตที่โรงงานตั้งอยู่ (4) อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาเป็น 2 เท่าเป็นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้ (5) อนุญาตให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุนในการนั้น หลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะถือเป็นแนวทางในการให้สิทธิและประโยชน์แก้ผู้ประกอบการแต่ทั้งนี้อาจมีข้อยกเว้นในกรณีที่ประเภทกิจการที่จะให้การส่งเสริมนั้นคณะกรรมการ ได้ประกาศกำหนดเงื่อนไขเฉพาะเกี่ยวกับการให้สิทธิและ ประโยชน์ด้านภาษีอากรไว้เป็นอย่างอื่น

พิธีการศุลกากรที่ควรทราบสำหรับของที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

(1) การปฏิบัติพิธีการนำเข้าสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าประเภทส่งเสริมการลงทุน ผู้นำของเข้าจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าประเภทการส่งเสริมการลงทุน (แบบ กศก.99/1) และเอกสารประกอบตามที่กำหนดให้จัดเตรียมในการนำเข้าปกติพร้อมสำเนาคู่ฉบับหนังสือสั่งปล่อยของ BOI ผู้นำเข้านำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อท่าเรือที่นำของเข้า กรมศุลกากรจะดำเนินการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ประเมินราคา-อากร และสั่งวางประกัน หรือยกเว้นภาษีอากร หรือการลดหย่อนภาษีอากร หรือเรียกเก็บภาษีอากรแล้วแต่กรณี แล้วคืนเอกสารให้ผู้นำเข้า ผู้นำเข้านำเอกสารไปติดต่อวางประกันหรือช าระอากร (ถ้ามี) ณ ฝ่ายบัญชีและอากร  ผู้นำเข้านำหลักฐานการชำระอากรหรือวางประกันพร้อมเอกสารอื่น ๆ ทั้งหมดไปขอรับสินค้า ณ ส่วนตรวจสินค้า ซึ่งจะทำการตรวจปล่อยสินค้าเช่นเดียวกับการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าตามปกติ (2) การค้าประกันค่าภาษีอากร การค้าประกันค่าภาษีอากรตามช่วงระยะเวลาที่สำนักงานส่งเสริมการลงทุนกำหนดให้กระท่า ณ ท่าเรือที่นำของเข้า (3) บัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาผลิต ผสมหรือประกอบ เป็นผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลซึ่งได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะต้องนำเข้าตามช่วงระยะเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดรายการและปริมาณของของดังกล่าวข้างต้นนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นผู้จัดทำาและแจ้งกรมศุลกากร โดย จัดทำเป็น 2 บัญชี คือ บัญชีแสดงรายการและปริมาณวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรในแต่ละบัญชีราคาสินค้าที่นำเข้า และเป็นรายงวด 6 เดือน ในการนี้ กรมศุลกากรได้กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจสอบและควบคุมบัญชีวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นเฉพาะเป็นรายงวด 6 เดือนดังนี้
  • สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ : รับผิดชอบการนำเข้าทางเรือในเขตท่ากรุงเทพ
  • สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ : รับผิดชอบการนำเข้าทางท่าอากาศยานกรุงเทพ
  • ด่านศุลกากรที่นำของเข้ารับผิดชอบการนำเข้าทางด่านศุลกากรนั้นๆ ตามหนังสืออนุมัติของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนส่วนภูมิภาค
(4) การโอนวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องโอนวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ได้ยื่นไว้แล้วจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่ง ผู้นำของเข้าต้องยื่นคำร้องขอโอนวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ตามแบบ กศก. 82 พร้อมสำเนา 1 ฉบับ ให้ผู้ควบคุมบัญชีที่ขอโอนตรวจสอบ เมื่อพิจารณาอนุมัติแล้วหน่วยงานที่ควบคุมบัญชีขอโอนจะส่งต้นฉบับคำร้องไปยังหน่วยงานที่รับโอน และเก็บสำเนาคำร้องไว้เป็นหลักฐานที่หน่วยงานของผู้ควบคุมบัญชีที่ขอโอน (5) การตัดบัญชีวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องจัดทำรายงานสรุปยอดบัญชีรายการวัตถุดิบ และวัสดุจำเป็นที่นำเข้าส่งให้สำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่เป็นหน่วยงานควบคุมบัญชีภายใน 15 วัน เพื่อกรมศุลกากรจะได้ดำเนินการปิดงวดบัญชีและแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนทราบ โดยตรงหากกรมศุลกากรตรวจพบวัตถุดิบหรือวัสดุจ าเป็นที่นำเข้ามีปริมาณหรือมีระยะเวลาการนำเข้าเกินจากบัญชีวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะพิจารณาความผิดและดำเนินการด้านคดีต่อไป ขอบคุณข้อมูลที่มา : http://www.boi.go.th/index.php?page=index